วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทละครจินตภาพ "คูบัวราชบุรี เรืองสถิตฟ้า"

ในงาน "The Old Ratchaburi Fair 2011" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เม.ย.2554 ณ โบราณสถาน วัดโขลงสุวรรณคิรี ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยความร่วมมือของ จังหวัดราชบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว สำนักท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี และสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 

ในงานนี้ คณะกรรมการจัดงานฯ ได้จัดให้มีการแสดงละครจินตภาพประกอบแสง เสียง เรื่อง "คูบัวราชบุรี เรืองสถิตฟ้า" โดยทำการแสดงในเวลา 19:00 น.ของทุกวัน มีบทการแสดงทั้งหมด 5 องก์ดังนี้

องก์ที่ 1 - 3,000 ปีมนุษยชาติราชบุรี
จากหลักฐานทางโบราณคดี เมืองโบราณคูบัวมีร่องรอยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์  พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย อาทิ ขวานหิน, ลูกปัด, ภาชนะดินเผา, กลองมโหระทึก, โครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ตามความเชื่อของคนพื้นเมือง (นาก) จะ "บูชากบ" เป็นเทพเจ้า

องก์ที่ 2 - คูบัววานิชแห่งสุวรรณภูมิ
เมืองคูบัว เป็นเมืองท่าขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของสุวรรณภูมิ จึงมีผู้คนหลายชนชาติเข้ามาค้าขาย เช่น ชาวเปอร์เซีย อินเดีย ชาวจีน และชาวพื้นเมืองแถบลุ่มน้ำท่าจีน (นครชัยศรี) ลุ่มน้ำจระเข้สามพัน เมืองอู่ทอง เมืองศูนย์กลางของสุวรรณภูมิ

องก์ที่ 3 - ศาสนารุ่งเรืองไพศาล
พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีป ได้ทรงส่งพระสมณะฑูตพระโสณะเถระ และพระอุตระเถระเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีศาสนาพราหมณ์ จากหลักฐานที่ค้นพบการไหว้พระศิวลึงค์

องก์ที่ 4 - ผืนแผ่นดินมหาราช
อะแซหวุ่นกี้ มีบัญชาให้ งุยอคงหวุ่น มาตามพวกมอญที่อพยพหนี  ถ้าตามไม่ทันให้ยกทัพกลับ แต่งุยอคงหวุ่น ฝ่าฝืนคำสั่งยกตามมอญเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ตีกองทัพพระยายมราช (แขก) แตกหนีเข้ามาทางท่าดินแดง แล้วยกเข้ามาถึงปากแพรก จึงแบ่งกองทัพเข้าปล้นทรัพย์  พอทราบว่ากองทัพไทยยกไปตั้งที่ราชบุรี งุยอคงหวุ่น จึงตั้งค่ายที่ตำบลบางแก้ว

พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ และพระยาธิเบศรบดีไปรักษาเมืองราชบุรี กองทัพทั้งสองเข้าล้อมพม่าที่บางแก้วได้ พระเจ้ากรุงธนบุรี พึ่งเสด็จกลับจากเชียงใหม่ รีบเสด็จไปช่วยและส่งกองทัพเหนือเข้ามาช่วย  ทั้งนี้เพราะงุยอคงหวุ่น ประมาทฝีมือไทยซึ่งเป็นการคาดผิด

อะแซหวุ่นกี้ให้ตะแคงมรหน่องเข้ามาช่วย  ได้ตั้งค่ายอยู่ที่เขาชะงุ้ม เข้าช่วยพรรคพวกไม่สำเร็จ พวกพม่าที่บางแก้วยอมจำนน แล้วไทยจึงระดมพลเข้าตีทัพพม่าที่ปากแพรกและเขาชะงุ้ม พม่าสู้ไม่ได้แตกยับเยินไป  ชัยชนะครั้งนี้เป็นการบำรุงทางใจ และการที่พระเจ้ากรุงธนบุรีจับพม่าส่งมาให้คนไทยดู เท่ากับเป็นการบำรุงขวัญคนไทยเพื่อไม่ให้หวาดหวั่นและกลัวเกรงพม่า ซึ่งเคยกดขี่เมื่อคราวเสียกรุง

องก์ที่ 5 - ใต้ร่มโพธิสมภารมหาราชเจ้า
กลุ่มชาติพันธิ์อพยพมาตั้งถิ่นฐานในราชบุรี ได้แก่ ชาวไท-ยวน ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยกะเหรี่ยง ชาวไทยมอญ ชาวไทยลาวตี้ ชาวไทยจีน ชาวไทยเขมร คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น


ที่มา
เอกสารประกอบการแถลงข่าวงาน "The Old Ratchaburi Fair 2010" เมื่อวันอังคารที่ 22 มี.ค.2554 ณ วัดโขลวสุวรรณคิรี ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น