เพลงราชบุรีศรีปฐพินทร์
เนื้อร้อง : อาจารย์จินตนา กล้ายประยงค์
ทำนอง : เพลง "ราชบุรีที่รัก" ประพันธ์โดย คณะสุนทราภรณ์ ,ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
ทำนอง : เพลง "ราชบุรีที่รัก" ประพันธ์โดย คณะสุนทราภรณ์ ,ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
โอ้แดนสวยงาม รุ่งเรืองอร่ามเหมือนเมืองพรหม
ช่างงามสม นามเมืองราช เมืองแห่งคนดี
เย็นสายลมพลิ้วพราย ฉ่ำสบายชั่วตาปี
ทุกคนยิ้มด้วยไมตรี แสนสุขเปรมปรีด์จีรัง
ช่างงามสม นามเมืองราช เมืองแห่งคนดี
เย็นสายลมพลิ้วพราย ฉ่ำสบายชั่วตาปี
ทุกคนยิ้มด้วยไมตรี แสนสุขเปรมปรีด์จีรัง
สามัคคีเผ่าพงศ์พี่น้อง ริมสายแม่กลองเนืองนองสองฝั่ง
หลากหลายเชื้อสายหลามหลั่ง หลอมเป็นพลังชาวราชบุรี
"ไทยเดิม" อีก "เขมรลาวเดิม" "ลาวโซ่ง" มาเสริม ทั้ง "กะเหรี่ยง" "ลาวตี้"
"ไท-ยวน" “จีน" "มอญ" มากมี ชาวราชบุรีแสนสุขสำราญ
หลากหลายเชื้อสายหลามหลั่ง หลอมเป็นพลังชาวราชบุรี
"ไทยเดิม" อีก "เขมรลาวเดิม" "ลาวโซ่ง" มาเสริม ทั้ง "กะเหรี่ยง" "ลาวตี้"
"ไท-ยวน" “จีน" "มอญ" มากมี ชาวราชบุรีแสนสุขสำราญ
ธรรมชาติน่าชมชื่นชู "เขาบิน"น่าดู "เขางู" ตระหง่าน
"เขาวัง" "ตลาดน้ำ" ถ้ำ ธาร "ค้างคาวร้อยล้าน" เชิญท่านให้มา
ประเพณีและวัฒนธรรม ฝังจิตใจจำเลิศล้ำ
คุณค่าสุขใจในวิถีประชา สมงามสมสง่าชาวราชบุรี"
"เขาวัง" "ตลาดน้ำ" ถ้ำ ธาร "ค้างคาวร้อยล้าน" เชิญท่านให้มา
ประเพณีและวัฒนธรรม ฝังจิตใจจำเลิศล้ำ
คุณค่าสุขใจในวิถีประชา สมงามสมสง่าชาวราชบุรี"
ความเป็นมาเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2544 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ได้รับมอบหมายจากจังหวัดราชบุรีให้จัดการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมือง โดยให้ แนวคิดว่าประชาชนในจังหวัดราชบุรีประกอบไปด้วยคนที่มีเชื้อชาติต่างๆ กัน เช่น ลาวโซ่ง ไทยทรงดำ ไท - ยวน เป็นต้น เพื่อประกอบในพิธีรับธงการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ณ สนามกีฬาสมโภช ๗๐๐ ปี จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 24 ธันวาคม 2545 เนื่องจากจังหวัดราชบุรีได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้ง ต่อไปในปี พ.ศ.2547
การแสดงที่สำนักศิลปวัฒนธรรมจัดขึ้นได้ตั้งชื่อว่า “ระบำราชบุรี ศรีปฐพินทร์” เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการนี้เป็นโดยเฉพาะ การออกแบบท่ารำ ผ.ศ.อาภรณ์ สุนทรวาท ผู้ออกแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะแสดงศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่นของจังหวัดราชบุรี ต้องการให้ระบำแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเชื้อสายของคนราชบุรีที่มีหลากหลายถึง 8 เผ่า ตลอดจนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของจังหวัด เช่น โอ่งลายมังกร ผ้าทอของชาวไท – ยวน ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดราชบุรี
ระบำชุดนี้มีรูปแบบเป็นการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมือง ลักษณะของระบำจะให้ผู้แสดงส่วนหนึ่งแต่งกายประจำเชื้อสายของชนเผ่าทั้ง 8 เชื้อสาย คือ คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น ชาวไทยจีน ชาวไท – ยวน ชาวไทยมอญ ชาวไทยกะเหรี่ยง ชาวไทยโซ่ง ชาวไทยลาวตี้ และชาวไทยเขมร ผู้แสดงอีกส่วนหนึ่งคือ ผู้แสดงจะแต่งชุดชาวราชบุรีเชื้อสายไท –ยวน ถือโอ่งลายมังกรขนาดเล็กสำหรับตั้งโชว์ออกมาร่ายรำ
นอกจากการออกแบบเครื่องแต่งกายที่ผู้ประดิษฐ์ระบำออกแบบแล้ว บทประพันธ์และทำนองเพลง ซึ่งเป็นส่วนที่จะแสดงความหมายของระบำนั้น เนื้อร้องและทำนองเพลง อาจารย์จินตนา กล้ายประยงค์ ท่านอนุเคราะห์ประพันธ์ให้ โดยอาจารย์ได้นำเนื้อร้องและทำนองส่วน ต้นเพลง (ร้องเกริ่น) มาจากเพลง “ราชบุรีที่รัก” ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ไม่ทราบนามผู้แต่ง ของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งเป็นเพลงเก่าแก่ของจังหวัด ต่อด้วยคำประพันธ์ที่มีเนื้อหาพรรณนาให้เห็นศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรี โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ท่วงทำนองร้องส่งของเพลงปรบไก่ ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของจังหวัดเช่นกัน และท้ายของระบำใช้เพลงกลองยาว เพื่อแสดงความหมายรื่นเริงและความยินยินดีที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งต่อไป
การออกแบบท่ารำ ผ.ศ.อาภรณ์ สุนทรวาท ได้แบ่งลักษณะ การเสนอระบำไว้เป็น 2 ลักษณะ แต่ภาพการแสดงจะเป็นระบำชุดเดียวกัน
นอกจากการออกแบบเครื่องแต่งกายที่ผู้ประดิษฐ์ระบำออกแบบแล้ว บทประพันธ์และทำนองเพลง ซึ่งเป็นส่วนที่จะแสดงความหมายของระบำนั้น เนื้อร้องและทำนองเพลง อาจารย์จินตนา กล้ายประยงค์ ท่านอนุเคราะห์ประพันธ์ให้ โดยอาจารย์ได้นำเนื้อร้องและทำนองส่วน ต้นเพลง (ร้องเกริ่น) มาจากเพลง “ราชบุรีที่รัก” ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ไม่ทราบนามผู้แต่ง ของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งเป็นเพลงเก่าแก่ของจังหวัด ต่อด้วยคำประพันธ์ที่มีเนื้อหาพรรณนาให้เห็นศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรี โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ท่วงทำนองร้องส่งของเพลงปรบไก่ ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของจังหวัดเช่นกัน และท้ายของระบำใช้เพลงกลองยาว เพื่อแสดงความหมายรื่นเริงและความยินยินดีที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งต่อไป
การออกแบบท่ารำ ผ.ศ.อาภรณ์ สุนทรวาท ได้แบ่งลักษณะ การเสนอระบำไว้เป็น 2 ลักษณะ แต่ภาพการแสดงจะเป็นระบำชุดเดียวกัน
ในส่วนแรกเป็นท่ารำของชนเผ่าทั้ง 8 ชนเผ่า ที่สื่อความหมายตามเนื้อร้องประกอบกับการแปรแถวตามความหมายที่เนื้อร้องกล่าวถึงแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
ส่วนที่สอง ผ.ศ.อาภรณ์ฯ ออกแบบให้ผู้แสดงที่แต่งกายชุดผ้าทอราชบุรี นำโอ่งลายมังกรออกมาร่ายรำเสนอไปพร้อมกับผู้แสดงชนเผ่าทั้ง 8 ชนเผ่า ในท่วงทำนองเพลงกลองยาวซึ่งให้อารมณ์สนุกสนานและเร้าใจ
อย่างไรก็ตาม ระบำชุด "ราชบุรีศรีปฐพินทร์" เป็นระบำที่สร้างขึ้นด้วยความภาคภูมิใจของสำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ที่ได้รับโอกาสที่ดีเช่นนี้จากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ที่ไว้วางใจสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และอธิการบดีมอบให้สำนักศิลปวัฒนธรรมรับผิดชอบ นับได้ว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงขึ้นในรูปแบบการแสดงนาฎศิลป์ พื้นเมืองของจังหวัดราชบุรี
ผศ.อาภรณ์ฯ ถือว่างานศิลปะเช่นนี้เป็นประวัติให้กับการปฏิบัติงานด้าน ศิลปวัฒนธรรมของสถาบัน การดำเนินงานครั้งนี้สำนักศิลปวัฒนธรรมมีผู้ร่วมปฏิบัติงานกัน เป็นกลุ่ม ระบำ “ราชบุรีศรีปฐพินทร์” จึงสามารถแสดงได้งดงาม และสำเร็จได้ด้วยดี ระบำ ”ราชบุรีศรีปฐพินทร์”
ที่มาข้อมูลและภาพ :
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง. (2545). ระบำราชบุรีศรีปฐพินทร์. [Online]. Available :http://culture.mcru.ac.th/M_005.html. [2553.มิถุนายน 8].
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง. (2545). ระบำราชบุรีศรีปฐพินทร์. [Online]. Available :http://culture.mcru.ac.th/M_005.html. [2553.มิถุนายน 8].
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น