ประวัติเพลงรำโทนชุมชนบ้านโพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ
ประมาณ พ.ศ.2484 ได้มีการร้องการรำเพลงรำโทนปรากฏขึ้นแล้วในชุมชนโพหัก ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2532 เป็นปีที่วัดใหญ่โพหักสร้างโบสถ์ คณะกรรมการวัดจึงริเริ่มตั้งคณะเพลงรำ โทนขึ้น ผู้อาวุโสสามารถร้องรำเพลงรำโทนได้หลายคน มารวมตัวกันเพื่อทบทวนเพลง การรวบรวมเพลงครั้งนี้ สามารถรวบรวมได้เจ็ดสิบกว่าเพลง ครั้งแรกที่แสดงได้ใช้วิธีฝ่ายชายเป็นผู้ซื้อพวงมาลัยเป็นผู้คล้องฝ่ายหญิง ทำให้มีการแข่งขันในกลุ่มญาติ กลุ่มเพื่อนของนักรำ ฝ่ายหญิง เงินที่ได้มาจากการขายพวงมาลัย นำไปถวายวัดเพื่อสร้างโบสถ์ และยังเป็นวิธีหนึ่งที่จะได้รักษาเพลงพื้นบ้านที่ชาวบ้านโพหัก นอกจากนี้ บรรยากาศในการเล่นจึงสนุกสนาน ต่อมาคณะโพหักสีทองจึงมีการจัดการเข้าร่วมประกวดการเล่นเพลงรำโทนกับวัดคลองตาคต ก่อนไปประกวดมีการจัดการรวบรวมเพลง และมีการแต่งเนื้อร้องและทำนองขึ้นใหม่บ้างเพื่อใช้ในการประกวด
ปัจจุบันเพลงรำโทนชุมชนบ้านโพหัก เป็นการแสดงสาธิต เพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนโพหักไว้
ประวัติเพลงรำโทนบ้านตลาดควาย ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง
ภาพการแสดงท่าทางในบทร้องเพลงรำโทน บ้านตลาดควาย |
รำโทนบ้านตลาดควายเป็นกิจกรรมการร้องรำทำเพลงพื้นบ้านของชาวไทยโซ่งบ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กิจกรรมนี้มีมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๓ หลังก่อตั้งกิ่งอำเภอ และผู้นำกิ่งอำเภอขณะนั้นคือปลัดกิ่งอำเภอคนที่ ๒ ครั้งแรกก่อนจะมีรำโทนเป็นการรำถวายมือหน้าศาลเจ้าตลาดควายนั้น รำโทนเป็นกิจกรรมหลังจากทำบุญกลางบ้านของชาวชุมชนบ้านตลาดควายของชาวไทยโซ่ง จัดพิธีไหว้ศาลเจ้าพ่อตลาดควาย เมื่อพิธีไหว้ศาลเสร็จถึงเวลาตกค่ำ มีการจัดให้สาวไทยโซ่งรำหน้าศาลเป็นการรำตามบทเพลงที่แต่งขึ้นเอง กับจังหวะดนตรีของโทน
วิธีการและขั้นตอนของเพลงรำโทนพื้นบ้านจังหวัดราชบุรี
เพลงรำโทนบ้านโพหัก มีผู้ร่วมเล่นกันประมาณ 20-30 คน วิธีเล่นมีกลุ่มเล่นดนตรีประกอบจังหวะ คือ กลอง ฉาบ และฉิ่ง อาจมีคนตบมือให้จังหวะในการร้อง มีดนตรี คือ กลอง หรือ โทน ฉิ่ง และฉาบ ทำจังหวะให้นักร้องนักรำ และนักร้องบางครั้งอาจมีลูกคู่ช่วยร้องหลายคนก็มี ส่วนกลุ่มนักรำชายและกลุ่มนักรำหญิงมีวิธีแสดงโดยเริ่มจากฝ่ายหญิงนั่งรอฝ่ายชายมาโค้งและนักดนตรีร้องสดไม่มีขนบการเรียงลำดับเพลง ใช้วิธีจดจำ ทั้งนักรำชายหญิงเมื่อเริ่มรำและร้องเพลงตาม จะใช้ท่ารำสอดคล้องไปกับความหมายของบทร้อง โดยใช้ท่ารำ คิดขึ้นขณะรำ ไปตามอารมณ์ ฝ่ายชายทุกคนสามารถตีกลองให้จังหวะได้ ดังนั้นการร่วมเล่น ร้อง รำ เพลง รำโทนนี้มีความสนุกสนานตรงที่ทุกคนมีการสับเปลี่ยนกันร้องบ้างและนักร้องบางทีก็ไปร่วมรำกับผู้รำในวง ซึ่งเป็นการร้องแทนกันบ้าง รำ แทนกันบ้าง หรือเล่นดนตรีแทนสลับหมุนเวียนกันไปเป็นบรรยากาศที่สนุกสนาน
เพลงรำโทนบ้านตลาดควาย วิธีการเล่นผู้เล่นมีเฉพาะฝ่ายหญิงเป็นสาวชาวไทยโซ่ง การที่มีเฉพาะฝ่ายหญิงชุมชนชาวไทยโซ่งมีจุดประสงค์เปิดโอกาสให้ชายหนุ่มจากชุมชนอื่นเข้ามาในหมู่บ้านและร่วมเล่นกับสาวๆ
เพลงและบทร้องรำโทนพื้นบ้านจังหวัดราชบุรี
เพลงและบทร้องเพลงรำ โทนทั้งชุมชนตำบลโพหักและชุมชนบ้านตลาดควาย มีจำนวนมากกว่า 100 เพลง เป็นคำคล้องจองไม่มีฉันทลักษณ์ที่เป็นขนบยึดถือ ความยาวขึ้นกับความต้องการ เนื้อหาคำร้องมีความหมายในเชิงการเกี้ยวพาราสี การบอกเหตุการณ์ของสงครามโลก ส่วนการร้องจะร้องซ้ำ สอง สาม หรือสี่เที่ยว การรำไม่มีแบบแผน เน้นการแสดงท่ารำ ตามความหมายในคำร้อง และตีบทท่ารำ ขณะรำ ซึ่งจะประกอบกับอารมณ์ที่สนุกสนาน และมีอารมณ์ในการหยอกล้อระหว่างชายหญิง
ตัวอย่างบทร้องเพลงรำโทน บ้านโพหัก
เพลงไตรรงค์
ผู้ขับร้อง นายจรัล เพ็งแจ่ม
สาธิตการแสดง นางสาวทิพวัลย์ เกิดเรียน
ไตรรงค์ธงไทยโบกไสวให้ลอยละลิ่วเห็น
ธงชัยปลิวห้าริ้วสีธงท้องฟ้าสีครามแลดูงาม
สดใส ยิ่งกว่าเกียรติไทยของเรานั้นเราพลี
ชีวิตเอาโลหิตเขามาเสริมส่งกระดูกแขนนั้น
ทำเป็นแท่นไตรรงค์ เอาโลหิตเสริมส่งธงชัยสมรภูมิ
เพลงพบสาวงาม
ผู้ขับร้อง นายจรัล เพ็งแจ่ม
สาธิตการแสดง นางสาวทิพวัลย์ เกิดเรียน(ช) ยามเมื่อพบสาวงาม ฉันขอตามไปด้วย โอ้แม่คนสวยถามว่าจะไปไหนกัน
(ญ) ฉันจะไปทางไหนมันเรื่องอะไรของเธอนั่นเล่า
(ช) ฉันพูดเบา ๆ ว่าฉันกะไรรักเธอ
(ญ) ฉันไม่รับรัก ประเดี๋ยวเมียเธอตามมาด่า
(ช) เมียพี่ไม่มาสัญญากันว่าไม่มี
(ญ) ไม่มีก็ไม่รัก
(ช) อกหักเสียแล้วคราวนี้
(ญ) ไม่รู้ไม่ชี้ไปซิฉันไม่อยากรำไปซิฉันไม่อยากรำ
วิธีการและขั้นตอนของเพลงรำโทนพื้นบ้านจังหวัดราชบุรี
ภาพการแสดงท่าทางในบทร้อง เพลงรำโทนบ้านโพหัก |
เพลงรำโทนบ้านตลาดควาย วิธีการเล่นผู้เล่นมีเฉพาะฝ่ายหญิงเป็นสาวชาวไทยโซ่ง การที่มีเฉพาะฝ่ายหญิงชุมชนชาวไทยโซ่งมีจุดประสงค์เปิดโอกาสให้ชายหนุ่มจากชุมชนอื่นเข้ามาในหมู่บ้านและร่วมเล่นกับสาวๆ
เพลงและบทร้องรำโทนพื้นบ้านจังหวัดราชบุรี
เพลงและบทร้องเพลงรำ โทนทั้งชุมชนตำบลโพหักและชุมชนบ้านตลาดควาย มีจำนวนมากกว่า 100 เพลง เป็นคำคล้องจองไม่มีฉันทลักษณ์ที่เป็นขนบยึดถือ ความยาวขึ้นกับความต้องการ เนื้อหาคำร้องมีความหมายในเชิงการเกี้ยวพาราสี การบอกเหตุการณ์ของสงครามโลก ส่วนการร้องจะร้องซ้ำ สอง สาม หรือสี่เที่ยว การรำไม่มีแบบแผน เน้นการแสดงท่ารำ ตามความหมายในคำร้อง และตีบทท่ารำ ขณะรำ ซึ่งจะประกอบกับอารมณ์ที่สนุกสนาน และมีอารมณ์ในการหยอกล้อระหว่างชายหญิง
ตัวอย่างบทร้องเพลงรำโทน บ้านโพหัก
เพลงไตรรงค์
ผู้ขับร้อง นายจรัล เพ็งแจ่ม
สาธิตการแสดง นางสาวทิพวัลย์ เกิดเรียน
ไตรรงค์ธงไทยโบกไสวให้ลอยละลิ่วเห็น
ธงชัยปลิวห้าริ้วสีธงท้องฟ้าสีครามแลดูงาม
สดใส ยิ่งกว่าเกียรติไทยของเรานั้นเราพลี
ชีวิตเอาโลหิตเขามาเสริมส่งกระดูกแขนนั้น
ทำเป็นแท่นไตรรงค์ เอาโลหิตเสริมส่งธงชัยสมรภูมิ
เพลงพบสาวงาม
ผู้ขับร้อง นายจรัล เพ็งแจ่ม
สาธิตการแสดง นางสาวทิพวัลย์ เกิดเรียน(ช) ยามเมื่อพบสาวงาม ฉันขอตามไปด้วย โอ้แม่คนสวยถามว่าจะไปไหนกัน
(ญ) ฉันจะไปทางไหนมันเรื่องอะไรของเธอนั่นเล่า
(ช) ฉันพูดเบา ๆ ว่าฉันกะไรรักเธอ
(ญ) ฉันไม่รับรัก ประเดี๋ยวเมียเธอตามมาด่า
(ช) เมียพี่ไม่มาสัญญากันว่าไม่มี
(ญ) ไม่มีก็ไม่รัก
(ช) อกหักเสียแล้วคราวนี้
(ญ) ไม่รู้ไม่ชี้ไปซิฉันไม่อยากรำไปซิฉันไม่อยากรำ
ตัวอย่างเพลงและบทร้องเพลงรำโทนบ้านตลาดควาย
เพลงชักชวนสาวงาม
ผู้ขับร้อง นางรอด สิทธิคะนึง
ชักชวนสาวงามฟ้อนรำ ถวายหลวงพ่อ
อนิจจารูปหล่อ คิ้วต่อยักคิ้วข้างเดียว
ขาไปเอาเรือยนต์เข้าไปรับ ขากลับกระไรน้ำเชี่ยว
รักเธอคนเดียว น้ำเชี่ยวอุตส่าห์ไปรับ
เพลงไหว้ครูรำโทน
ผู้ขับร้อง นางรอด สิทธิคะนึง
ไหว้ครูรำโทน ประดิษฐ์บรรจงที่สั่งสอนมา
เดชะครูบาชะเอ่อเอย ฉันได้มารำโทน
จะไหว้ครูรำโทน ประดิษฐ์บรรจงที่สั่งสอนมา
เดชะครูบา ชะเอ่อเอย ฉันได้มารำโทน
การแต่งกายของนักรำโทนเพลงพื้นบ้านจังหวัดราชบุรี
การแต่งกายของนักรำนักร้องเพลงรำโทนบ้านโพหัก ลักษณะการแต่งกายในแสดงเพลงรำโทนในอดีต ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นักรำสาวๆ เพลงรำโทนตำบลโพหักแต่งชุดกระโปรงบาน ติดกันกับเสื้อที่รัดเข้ารูปร่างแขนกระปุก เสื้อมีหลากสีและบางครั้งก็เป็นลวดลาย ส่วนฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมนุ่งกางเกงมีผ้าผูกรอบเอวลักษณะการแต่งกายของนักรำเพลงรำโทนชุมชนโพหักในปัจจุบันเป็นนักรำรุ่นเดิมเป็นวัยอาวุโส ใช้ผ้ามันนุ่งโจงกระเบน และใส่เสื้อรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยตามสมัยนิยมของรุ่นผู้อาวุโสปัจจุบัน การแสดงครั้งนี้ผู้อาวุสชาวโพหัก มีวัตถุประสงค์จะสืบทอดและรักษาเพลงรำโทนให้เป็นมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนตำบลโพหักต่อไป
การแต่งกายของนักรำนักร้องเพลงรำโทนบ้านตลาดควาย ตำบลจอมบึง การแต่งกายของนักรำและนักดนตรีในการแสดงเพลงรำโทน ชุมชนบ้านตลาดควาย เป็นการแต่งกายมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เนื่องจากชุมชนบ้านตลาดควาย ทุกคนเป็นคนไทยเชื้อสายลาวโซ่ง ผู้ชายสวมเสื้อไทยเรียกเสื้อซอนนุ่งกางเกงสีดำมีผ้าคาดเอวผู้หญิงคาดผ้าเปียวพัน รอบอก ทิ้งชายผ้าไว้ข้างลำตัว
เก็บข้อมูลโดย ณ จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ.2549 โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีและสภาวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี
ที่มา :
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552).รำโทน ราชบุรี. แหล่งความรู้ออนไลน์ : ศิลปะการแสดงภาคกลาง. [Online]. Available :http://www.culture.go.th/knowledge/center.html. [2553 ตุลาคม 11 ].
เก็บข้อมูลโดย ณ จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ.2549 โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีและสภาวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี
การแต่งกายเพลงรำโทน ตำบลโพหักของฝ่ายหญิง |
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552).รำโทน ราชบุรี. แหล่งความรู้ออนไลน์ : ศิลปะการแสดงภาคกลาง. [Online]. Available :http://www.culture.go.th/knowledge/center.html. [2553 ตุลาคม 11 ].
ขออนุญาตินะค่ะ
ตอบลบนาง รอด สิทธิคนึง ( ปิ่นทอง ) เป็นผู้ขับร้องเพลงรำโทนของบ้านตลาดควาย อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ได้เสียชีวิตลงแล้วเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นยายของดิฉันเอง จึงเป็นที่น่าเสียดายมาก น่าจะมีเสียงที่ยายร้องบ้าง